ตู้เขี่ยเชื้อ

การประกอบตู้เขี่ยเชื้อ(กระดาษ)


ตู้เขี่ยเชื้อเห็ด(กระดาษ) "จากการออกแบบสู่การผลิตและใช้จริง"

            
การเตรียมตู้เขี่ยเชื้อเห็ด(กระดาษ)ให้พร้อมทำงาน
เทคนิคที่ต้องรู้ คือแสงยูวี(UVC)ใช้ฆ่าเชื้อโรคอากาศภายในตู้ได้(ความจริงเชื้อโรคตายเพราะความถี่ของยูวี) ถ้าแสงไปถึงทีใดก็จะฆ่าเชื้อโรคได้
1.ตู้เขี่ยเชื้อกระดาษใช้ไฟฟ้า 220 VAC(ไฟฟ้าในบ้านทั่วไป)
2.อุปกรณ์ที่ใช้ในการเขี่ยเชื้อควรอบพร้อมตู้ ยกเว้นเชื้อที่จะทำการเขี่ย
3.ควรปิดตู้และอบตู้ที้งไว้อย่างน้อย 15-30นาทีก่อนใช้งาน ไม่ต้องพ่น แอลกอฮอร์ในตู้ เพราะไม่ช่วยในการฆ่าเชื้อโรคเลย
4.ปิดหลอดยูวี ทุกครั้งขณะทำงาน
5.เปิดหลอดนีออน ให้แสงภายในตู้เขี่ยเชื้อ และพัดลมเล็กจะเริ่มทำงาน
6.ความร้อนที่สะสมไว้ขณะทำงาน ซึ่งเกิดจากตะเกียงแอลกอฮอร์ จะไปรวมกันที่ฝาบนของตู้เขี่ยเชื้อ และจะระบายออกโดยพัดลมเล็ก
7.กรณีใช้ตู้เขี่ยเชื้อทำงานในสนาม ต้องใช้หินทับที่ขาตู้ไว้กันการเคลื่อนที่

การใช้งานตู้เขี่ยเชื้อกระดาษ
-ไม่ควรทำงานติดต่อกันนานไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง  หลังจากนั้นควรปิดตู้อบยูวีอีกครั้ง 15-30นาที เพื่อให้อากาศภายในตู้ได้ถูกฆ่าเชื้อทั้งหมด
-ตู้เขียเชื้อกระดาษห้ามโดนน้ำเด็ดขาด
-ควรเขี่ยเชื้อตอนเช้าเพราะเสื้อผ้า และร่างกายผู้ทำงานสะอาดที่สุด
-เครื่องมือต้องนึ่ง หรือ ต้มในอุณหภูมิ100 C(น้ำเดือด) และจับเวลาต่อไปอีก30นาที กรณีไม่มีหม้อนึ่งเครื่องมือแบบแรงดัน  ถ้ามีหม้อนึ่งแบบแรงดันทำตามคำแนะนำของสินค้านั้นๆ


เปรียบเทียบตู้เขี่ยเชื้อกระดาษ Vs ตู้เขี่ยเชื้อชนิดระบายความร้อน
ตู้เขี่ยเชื้อกระดาษ  ได้ออกแบบโดยการเน้นเรื่องการใช้งาน ให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องมากกว่าตู้เขี่ยเชื้อแบบเดิมๆ เนื่องจากการระบายอากาศภายในตู้เขี่ยเชื้อมักจะทำให้เชื้อที่ไม่ประสงค์ติดเข้าไปด้วย ตู้เขี่ยเชื้อแบบเดิมๆ  มักทำด้วยวัสดุถาวรมากเช่น ไม่ พลาสติด หรือสเต็นเลส ขึ้นอยู่กับราคา  แต่ระบบการระบายความร้อนภายในตู้ เหมือนกันคือ  จะใช้ยูวี(UVC)ในการฆ่าเชื้อโรคก่อน ประมาณ15-30นาที  ขณะใช้งานมีระบบระบายความร้อนในตู้ออก โดยพัดลมทำหน้าที่สูบอากาศจากภายนอก ผ่านตัวกรองอากาศ เข้ามาในตู้ และจะระบายออก ในส่วนหน้าบริเวณช่องที่สำหรับสอดมือเข้าทำงาน
ปัญหาที่พบ
1.ความร้อนที่ลอยขึ้นด้านบนขณะทำงานจะไหลเวียนภายในตู้ รวมทั้งถ้าภายในตู้มีเชื้อไม่พึงประสงค์อยู่  เชื้อเหล่านั้นก็จะกระจายทั่วตู้เช่นกัน
2.อากาศที่ทำการฆ่าเชื้อแล้วจากหลอดยูวีในชั้นแรก  จะถูกปนเปื้อนจากอากาศภายนอกตู้ที่ถูกดูดเข้ามาแม้ผ่านตัวกรองอากาศก็ตาม

วิศวะกร "บ้านเห็ด" เราเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น  ตู้เขี่ยเชื้อ(กระดาษ)ของเราได้ออกแบบในแนวคิดใหม่ที่จะพยายามแก้ปัญหาการไหลของอากาศไห้ได้ดีและไม่ทำให้เชื้อที่ไม่พึงประสงค์จากภายนอกเข้ามาในตู้ หรือเข้ามาแล้วออกไปเลยไม่กระทบกับอากาศที่ทำความสะอาดไว้แล้วจากการฆ่าเชื้อโดยหลอดยูวี











สนใจติดต่อสอบถาม โทร. 086-3648292